รอยแผลเป็นจากสิวเป็นรอยที่รักษาได้ แต่ก่อนจะรักษานั้นต้องรักษาสิวให้หายดีเสียก่อน เพราะไม่งั้นสิวที่ยังไม่หายก็กลายเป็นแผลเป็นได้ วิธีการรักษาแผลเป็นบางอันในบทความนี้ไม่สามารถทำควบคุมไปกับการรักษาสิวได้ ก่อนที่จะรักษารอยแผลเป็นจากสิวนั้น ควรทำความรู้จักรอยแผลเป็นทุกชนิดก่อนที่จะรู้ว่าแต่ละชนิดควรรักษาอย่างไร
- แผลเป็นลึกบุ๋มลงไป หรือ Atrophic or depressed scars
แผลเป็นชนิดนี้เป็นแผลเป็นทั่วไปบนใบหน้าภายหลังจากการเกิดสิว ซึ่งเกิดจากเมื่อผิวได้รับคอลาเจนที่ไม่เพียงพอในการสมานแผลสิว โดยแบ่งได้อีกสามประเภทย่อยคือ
Boxcar หรือรอยแผลเป็นจากสิวระดับรุนแรงปานกลาง
เป็นลักษณะกว้าง ลักษณะเป็นตัว U ลึกในระดับหนึ่ง หากเป็นแผลเป็นลักษณะนี้ต้องรักษาแบบปรับสภาพพื้นผิว (Skin Resurfacing treatments)
Ice pick หรือรอยแผลเป็นจากสิวระดับรุนแรงที่สุด
แผลเป็นลักษณะนี้ค่อนข้างแคบเป็นรูปตัว V ค่อนข้างลึก หรือเป็นทรงรี เหมือนรอยแผลเป็นจากการเป็นอีสุกอีกใส ซึ่งแผลเป็นลักษณะนี้รักษายากที่สุด เพราะค่อนข้างลึกลงไปมากกว่าผิวชั้นบน
Rolling หรือรอยแผลเป็นจากสิวระดับทั่วไป
มักเกิดบริเวณผิวหนังชั้นบน เป็นหลุมไม่ลึก เกิดจากการบีบ หรือแกะสิว ซึ่งแผลเป็นประเภทนี้รักษาได้ง่าย
- แผลเป็นแบบโต นูน Hypertrophic or raised scars
เป็นแผลเป็นที่เกิดจากแผลขนาดใหญ่ หรือสิวบริเวณหน้าอก และหลัง ซึ่งจะกินพื้นที่ลงไปถึงชั้นหนังแท้ ซึ่งเมื่อผิวหนังสูญเสียคอลาเจนเป็นจำนวนมากขณะสมานแผลทำให้เกิดแผลเป็นชนิดนี้ (ไม่ใช่คีรอยด์)
- จุดด่างดำ
>> รีวิว ผลิตภัณฑ์รักษาสิว แบบต่าง ๆ มีข้อดีข้อเสียกันอย่างไร
การที่ผิวหนังมีสีที่ต่างไปจากเดิม ภายหลังจากสิวที่หายไป เช่น แดง น้ำตาล จะจางไปเองภายหลังจากผ่านไปหลายเดือน ซึ่งบางครั้งเกิดความหมองคล้ำ หรือหน้าไม่กระจ่างใสได้
ขั้นตอนการดูแลรักษาด้วยตนเอง
ก่อนที่จะเริ่มการรักษารอยแผลเป็นจากสิวนั้น ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทุกครั้งถึงวิธีที่เลือกใช้ เพราะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะวินิจฉัยประเภทของรอยแผลเป็น และวิธีการรักที่เหมาะสม และเพื่อเป็นการมั่นใจว่าเป็นรอยแผลเป็นจากสิวไม่ใช้อาการของโรคอื่นๆ
- Alpha hydroxy acids (AHAs)
มักพบในผลิตภัณฑ์เวชสำอางค์ที่รักษาสิวทั่วไป โดยมีส่วนช่วยในการกำจัดเซลล์ผิวหนังที่ตายและ และป้องกันการอุดตันของรูขุมขน และยังช่วยจางรอยแผลเป็นจากสิวได้ดีอีกด้วย สามารถใช้ได้กับทุกสภาพผิว
- กรดแลคติก (Lactic acid)
ในงานวิจัยปี 2010 ชิ้นหนึ่งได้กล่าวไว้ว่าแพทย์ด้านผิวหนังได้สั่งจ่ายให้ผู้ป่วยใช้กรดแลคติดเป็นประจำทุกๆ สองสัปดาห์เป็นเวลา 3 เดือน โดยผิวหน้าของผู้ป่วยพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ทั้งความหยาบของผิว ภายนอก และเม็ดสีผิว หน้ากระจ่างใสขึ้น ซึ่งเวชสำอางค์จำพวกมากส์ เซรั่ม และทรีทเม้นท์ต่างๆ หาซื้อได้ทั่วไปที่มีส่วนผสมของกรดแลคติก หรือ อาจใช้น้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์เจือจางกับน้ำเปล่าสะอาดแทนโทนเนอร์ชโลมบริเวณเป็นจุดๆ เพื่อเป็นกรดแลคติกจากธรรมชาติได้ ซึ่งเหมาะสำหรับทุกสภาพผิว
- เรตินอยด์ (retinoids)
Topical retinoids หรือ กลุ่มสารประกอบประเภทวิตามินเอ เป็นยารักษาสิวอันดับต้นๆ เพื่อรักษาสิวความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง และยังมีส่วนช่วยในการรักษาแผลเป็นจากสิวให้นิ่มขึ้น ยาทาเรตินอยด์นั้นเร่งให้เซลล์ผลัดตัวใหม่ และลดปริมาณสีผิวที่ผิดเพี้ยนไป ทำให้รอยแผลเป็นจางลง อย่างไรก็ตามทำให้ผิวระคายเคืองง่าย และมีความไวต่อแดด เพราะเหตุนี้ควรใช้ครีมกันแดดควบคู่ไปกับการใช้ยาทาเรตินอยด์
- กรดซาลิไซลิก salicylic acid
เวชสำอางค์ทั่วไปมักมีส่วนผสมของกรดซาลิไซลิก ซึ่งมีส่วนช่วยในการทำความสะอาดรูขุมขน ลดอาการบวม และแดง รวมถึงผลักเซลล์ผิวเมื่อใช้อย่างเป็นประจำ โดยผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกรดซาลิไซลิกเป็นหนึ่งทางที่ดีที่สุดการรักษารอยแผลเป็นจากสิว อย่างไรก็ตามต้องใช้อย่างต่อเนื่องถึงจะเห็นผลหลายสัปดาห์ถัดมา ผลข้างเคียงคือทำให้ผิวแห้ง และแพ้ได้ง่าย ผู้ที่มีผิวอ่อนโยน แพ้ง่าย ควรศึกษาก่อนใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ
- ครีมกันแดด
การใช้ครีมกันแดดเป็นประจำทุกวันมีส่วนช่วยในการจางรอยแผลเป็น และจุดด่างดำได้ เนื่องจากแสงแดดทำให้หน้าหมองคล้ำ และรอยแผลเป็นเข้มขึ้น
ขั้นตอนการดูแลรักษาวิธีอื่นๆ
หากขั้นตอนการดูแลรักษาด้วยตนเองยังไม่เห็นผลที่ดีนัก ควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังผู้เชี่ยวชาญและการรักษาด้วยวิธีต่อไปนี้
- การกรอหน้า Dermabrasion
เป็นอีกวิธีที่มีประสิทธิภาพในการรักษาแผลเป็นจากสิว โดยทำให้ผิวหน้าถลอกจนถึงชั้นหนังแท้ เห็นผลได้ดี แต่หน้าจะมีรอยถลอกแผลคล้ำจนถึง 6 เดือน หรือ 1 ปี ซึ่งวิธีนี้คล้ายกับ microdermabrasion เหมาะสำหรับผู้ที่มีแผลเป็นในบริเวณผิวหนังชั้นบน ไม่ลึกมาก ที่สำคัญต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
- การใช้มากส์สารเคมี
มากส์สารเคมีค่อนข้างแรง จะลอกเอาผิวหน้าชั้นบนสุดออก เพื่อลดความเข้ม และจางรอยแผลเป็นจากสิวออกไป มากส์สารเคมีบางชนิดสามารถใช้เองที่บ้านได้ เนื่องจากไม่แรงมาก แต่อย่างไรก็ตามต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งสามารถใช้รักษารอยแผลเป็นได้ทุกชนิด โดยเฉพาะประเภทลึก และเข้ม
- รักษาด้วยเลเซอร์
วิธีการนี้ค่อนข้างเป็นที่นิยม และคล้ายๆ กับข้างต้นคือ จะลอกเอาผิวหน้าชั้นบนสุดออก แต่ภายหลังการรักษาด้วยเลเซอร์ผิวหนังค่อนข้างฟื้นตัวได้ไว แต่จะต้องไม่ขัด ถู แว๊กซ์ ผิวหนังแรงเพราะอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองได้ อย่างไรก็ตามผู้ที่มีปริมาณสิวเป็นจำนวนมากไม่ควรเข้ารับการทำเลเซอร์ควรรักษาสิวให้ดีขึ้นเสียก่อน
>> เข้าคลีนิครักษาสิว ปลอดภัยไหม
- การฉีดฟิลเลอร์
การฉีดฟิลเลอร์เป็นการเติมผิวที่ไม่สม่ำเสมอ และรักษารอยแผลเป็นได้ อาจใช้คอลาเจน หรือไขมันของตัวเอง หรือฟิลเลอร์สังเคราะห์ฉีดในบริเวณที่ต้องการ ซึ่งส่วนใหญ่เหมาะสำหรับผู้ที่มีรอยแผลเป็นขนาดเล็ก ไม่ลึกมาก
- การรักษาด้วยใช้เข็ม Microneedling
เป็นการใช้เข็มเล็ก และเป็นจำนวนมากกดลงไปบริเวณแผลเป็นเพื่อกระตุ้นให้ผิวหนังสร้างคอลาเจน และอีลาสติน ทำให้ผิวดูเรียบเนียน โดยมีงานวิจัยสนับสนุนว่าการใช้วิธีนี้ทำให้หลุมสิวตื้นขึ้นแต่ต้องใช้ระยะเวลามากถึง 9 เดือนถึงจะเห็นผล ถึงแม้ว่าจะดูค่อนข้างน่ากลัว แต่ปลอดภัยสำหรับผิวทุกรูปแบบ เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาหลุมสิวค่อนข้างหนัก
- การฉีดยา
มียาบางประเภทที่ฉีดเข้าไปบริเวณรอยแผลเป็นสิวให้ดูนุ่มขึ้น และตื้นขึ้น เช่น คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) ฟลูอโรยูราซิล หรือ chemotherapy drugs fluorouracil (5-FU) โดยมักต้องทำเป็นประจำห่างกัน หลายสัปดาห์ถึงจะเห็นผล
- การผ่าตัดขนาดเล็ก
ปัจจุบันแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังอาจต้องทำการผ่าตัดเอารอยแผลเป็นขนาดใหญ่ออกเพื่อให้เหลือขนาดที่เล็กที่สุดที่จะหายได้เองไปตามกาลเวลา หรือการรักษาหลุมสิวด้วยการเซาะพังผืด (subcision) ซึ่งเป็นการใช้เข็มเซาะบริเวณหลุมสิวเพื่อกระตุ้นให้ผิวหนังสร้างคอลาเจนรักษาตนเอง
>> ผลิตภัณฑ์รักษาสิว แต่ละชนิดทำหน้าที่อะไรบ้าง
สรุป
หลุมสิว หรือรอยแผลเป็นจากสิวเป็นสิ่งที่กวนใจ และน่ารำคาญ แต่ปัจจุบันมีการรักษาที่หลากหลาย และดีขึ้นเพื่อประสิทธิภาพที่ดี แต่อย่างไรก็ตามวิธีการรักษารอยแผลเป็นจากสิวที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้เกิดสิวตั้งแต่แรก หลักการง่ายๆ คือ การหลีกเลี่ยงการแกะ แคะ เกา หรือบีบสิว เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวเกิดการติดเชื้อ และอักเสบในภายหลัง
https://www.healthline.com/health/acne-scars#takeaway